ข้อมูลทั่วไป
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 123 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50150 ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นศูนย์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานเทศบาลตำบลแม่แตง หมายเลขโทรศัพท์ ๐ – 5347 – 0050-53 , หมายเลขโทรสาร ๐- 5347 – 0050 ต่อ 18 กองการศึกษา เทศบาลตำบลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนระดับ เตรียมเด็กเล็ก อายุผู้เรียนตั้งแต่ ๒ – ๕ ปี
ประวัติของศูนย์พัฒนาเด็ก ( ความเป็นมา วันที่ก่อตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ )
เดิมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลแม่แตง มีอยู่ 3 ศูนย์ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันปูเลย หมู่ที่ 6 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัว หมู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้มีการถ่ายโอนภารกิจการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 ให้อยู่ในการกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตง
ในปี พ.ศ. 2553 องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตง ได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ไทยเข้มแข็งให้ก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวนเงิน 1,578,591 บาท มีพื้นที่ทั้งหมด 372 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 4 ห้องเรียน ทางคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตง เห็นปัญหาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้มีการยุบรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ ให้มารวมกันและได้จัดตั้ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตงขึ้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ปัจจุบันรับเด็กอายุตั้งแต่ 2-5 ขวบ มีอยู่ 4 ระดับชั้น คือ ระดับชั้นเตรียมเด็กเล็ก ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 2 และระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 โดยมีครูทั้งหมดจำนวน 6 คน
ปรัชญาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ
มีวินัย มีเหตุผล มีความสุข
จุดเด่นจุดเน้นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง
คือ ร่าเริงแจ่มใส
เอกลักษณ์ ส่งเสริมพัฒนาการ สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
อัตลักษณ์ ร่าเริง แจ่มใส ไหว้สวย
อุดมการณ์ จัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของผู้เรียนเป็นสำคัญ
คำขวัญ มีวินัย เราจะเก่ง มีเหตุผล เราจะดี และมีความสุข
ตราประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

สีประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส้ม – ดำ
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง
วิสัยทัศน์
เด็กผู้เรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง จะเป็นผู้มีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้านอย่างสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคน ตามศักยภาพ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน เน้นความมีระเบียบวินัย มีเหตุผล เพื่อเป็นพื้นฐานของคุณภาพชีวิตที่ดีตั้งแต่เยาว์วัยพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตที่สมบูรณ์และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
พันธกิจ
1. ส่งเสริม เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม สติปัญญาและทักษะชีวิต
2. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. ส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา กระบวนการคิด และการแก้ปัญหา
4. สร้างเสริมสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
5. เสริมสร้างทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
6. ส่งเสริมสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
7. ส่งเสริมให้เด็กมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และความเป็นไทย
8. พัฒนาครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
9. จัดสภาพแวดล้อม สื่อ อุปกรณ์ให้เหมาะสม น่าเรียน น่าอยู่ สะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้
10.พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วม
11.ส่งเสริมสิทธิ และโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกประเภท
12.ส่งเสริมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่อาเซียน
เป้าหมาย
1. เด็กทุกคนมีความพร้อม กล้าแสดงออก และพัฒนาทุกด้าน (ร่างกาย-อารมณ์-สังคม-สติปัญญาและทักษะชีวิต) เหมาะสมกับวัย
2. เด็กทุกคนมีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3. เด็กทุกคนมีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี
4. เด็กทุกคนมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. เด็กทุกคนมีทักษะและกระบวนการคิด การแก้ปัญหาทั้งยังสามารถช่วยเหลือตนเองใน
ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
6. เด็กทุกคนได้รับการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี
และวัฒนธรรมท้องถิ่น
7. เด็กทุกคนแสดงออกได้ตามศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
8. เด็กทุกคนมีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
9. เด็กทุกคนรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความเป็นไทย
9. เด็กทุกคนได้รับการปลูกฝังให้เป็นคนดี ไม่แกล้งเพื่อน รู้จักให้อภัย และเป็นผู้ให้
10. เด็กทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับวัยอย่างมีความสุข
11. เด็กทุกคนพร้อมจะเรียนรู้สู่อาเซียน
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดระบบการบริหารการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเป็นไปตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการศึกษาของเด็กปฐมวัย มุ่งพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้สอดคล้องพร้อมพัฒนาการเรียนรู้สู่อาเซียน
3. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ
4. จัดทำ และพัฒนาหลักสูตร
5. พัฒนากระบวนการเรียนรู้
6. ผลิต และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
7. จัดให้มีการส่งเสริมการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับการประเมินภายนอก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 จัดระบบสภาพแวดล้อมและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ สื่อเทคโนโลยีและปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้เรียนและเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน
1. พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้
2. จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดจากสิ่งเสพติดและอบายมุข
3. ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้ถึงประโยชน์และโทษของธรรมชาติรวมทั้งวิธีการดูแลรักษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและสืบสานความเป็นไทย
1. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 จัดระบบเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
1. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีให้ได้มาตรฐานเหมาะกับสภาพปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1. ส่งเสริมบุคลากรในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 123 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50150 ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นศูนย์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานเทศบาลตำบลแม่แตง หมายเลขโทรศัพท์ ๐ – 5347 – 0050-53 , หมายเลขโทรสาร ๐- 5347 – 0050 ต่อ 18 กองการศึกษา เทศบาลตำบลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนระดับ เตรียมเด็กเล็ก อายุผู้เรียนตั้งแต่ ๒ – ๕ ปี
ประวัติของศูนย์พัฒนาเด็ก ( ความเป็นมา วันที่ก่อตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ )
เดิมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลแม่แตง มีอยู่ 3 ศูนย์ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันปูเลย หมู่ที่ 6 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัว หมู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้มีการถ่ายโอนภารกิจการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 ให้อยู่ในการกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตง
ในปี พ.ศ. 2553 องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตง ได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ไทยเข้มแข็งให้ก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวนเงิน 1,578,591 บาท มีพื้นที่ทั้งหมด 372 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 4 ห้องเรียน ทางคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตง เห็นปัญหาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้มีการยุบรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ ให้มารวมกันและได้จัดตั้ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แตงขึ้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ปัจจุบันรับเด็กอายุตั้งแต่ 2-5 ขวบ มีอยู่ 4 ระดับชั้น คือ ระดับชั้นเตรียมเด็กเล็ก ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 2 และระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 โดยมีครูทั้งหมดจำนวน 6 คน
ปรัชญาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ
มีวินัย มีเหตุผล มีความสุข
จุดเด่นจุดเน้นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง
คือ ร่าเริงแจ่มใส
เอกลักษณ์ ส่งเสริมพัฒนาการ สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
อัตลักษณ์ ร่าเริง แจ่มใส ไหว้สวย
อุดมการณ์ จัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของผู้เรียนเป็นสำคัญ
คำขวัญ มีวินัย เราจะเก่ง มีเหตุผล เราจะดี และมีความสุข
ตราประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สีประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส้ม – ดำ
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง
วิสัยทัศน์
เด็กผู้เรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แตง จะเป็นผู้มีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้านอย่างสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคน ตามศักยภาพ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน เน้นความมีระเบียบวินัย มีเหตุผล เพื่อเป็นพื้นฐานของคุณภาพชีวิตที่ดีตั้งแต่เยาว์วัยพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตที่สมบูรณ์และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
พันธกิจ
1. ส่งเสริม เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม สติปัญญาและทักษะชีวิต
2. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. ส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา กระบวนการคิด และการแก้ปัญหา
4. สร้างเสริมสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
5. เสริมสร้างทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
6. ส่งเสริมสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
7. ส่งเสริมให้เด็กมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และความเป็นไทย
8. พัฒนาครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
9. จัดสภาพแวดล้อม สื่อ อุปกรณ์ให้เหมาะสม น่าเรียน น่าอยู่ สะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้
10.พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วม
11.ส่งเสริมสิทธิ และโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกประเภท
12.ส่งเสริมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่อาเซียน
เป้าหมาย
1. เด็กทุกคนมีความพร้อม กล้าแสดงออก และพัฒนาทุกด้าน (ร่างกาย-อารมณ์-สังคม-สติปัญญาและทักษะชีวิต) เหมาะสมกับวัย
2. เด็กทุกคนมีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3. เด็กทุกคนมีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี
4. เด็กทุกคนมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. เด็กทุกคนมีทักษะและกระบวนการคิด การแก้ปัญหาทั้งยังสามารถช่วยเหลือตนเองใน
ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
6. เด็กทุกคนได้รับการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี
และวัฒนธรรมท้องถิ่น
7. เด็กทุกคนแสดงออกได้ตามศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ
8. เด็กทุกคนมีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
9. เด็กทุกคนรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความเป็นไทย
9. เด็กทุกคนได้รับการปลูกฝังให้เป็นคนดี ไม่แกล้งเพื่อน รู้จักให้อภัย และเป็นผู้ให้
10. เด็กทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับวัยอย่างมีความสุข
11. เด็กทุกคนพร้อมจะเรียนรู้สู่อาเซียน
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดระบบการบริหารการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเป็นไปตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการศึกษาของเด็กปฐมวัย มุ่งพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้สอดคล้องพร้อมพัฒนาการเรียนรู้สู่อาเซียน
3. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ
4. จัดทำ และพัฒนาหลักสูตร
5. พัฒนากระบวนการเรียนรู้
6. ผลิต และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
7. จัดให้มีการส่งเสริมการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับการประเมินภายนอก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 จัดระบบสภาพแวดล้อมและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ สื่อเทคโนโลยีและปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้เรียนและเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน
1. พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้
2. จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดจากสิ่งเสพติดและอบายมุข
3. ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้ถึงประโยชน์และโทษของธรรมชาติรวมทั้งวิธีการดูแลรักษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและสืบสานความเป็นไทย
1. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 จัดระบบเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
1. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีให้ได้มาตรฐานเหมาะกับสภาพปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1. ส่งเสริมบุคลากรในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา